รู้จักกับภาวะ “กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” พร้อมแนะนำวิธีรักษา
เคยไหมคะกับการโดนคนรอบข้างทักบ่อยๆ ว่า ดูเหมือนง่วงนอนตลอดเวลา จะถ่ายรูปทีก็รู้สึกไม่มั่นใจเพราะดวง ตาไม่เท่ากัน ชั้นตาแตก ไม่พับเส้นเรียงสวยเหมือนเมื่อก่อน หรือจะเข้าสังคมก็กังวลว่าคู่สนทนาจะสังเกตเห็นลักษณะตาที่แตกต่างกัน สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้อย่าชะล่าใจ เพราะนี่อาจเป็นอาการหนึ่งของภาวะ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ได้
ฉะนั้น Medmetic จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงกัน ไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงคือ อะไร อันตรายไหม? วิธีแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มีอะไรบ้าง? ทุกคำถามมีคำตอบให้สำหรับคุณ
Header Tag 2 : โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง คือ
Alt : กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงภาษาอังกฤษ
โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง คือ การที่กล้ามเนื้อตาไม่แข็งแรง ไม่สามารถพยุงหนังตาไว้ได้ ส่งผลให้เปลือกตาด้านบนหย่อนลงมามากกว่าปกติ ลักษณะดวงตาจึงเห็นเป็นลูกตาดำไม่เต็มวง คล้ายคน ตาปรือ ง่วงนอน เหนื่อยเพลีย หรือบางกรณีที่เป็นเพียงแค่ข้างเดียว ก็จะเห็นได้ชัดเจนว่าดวงตาไม่เท่ากัน ทำให้รู้สึกเสียความมั่นใจไปด้วย
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถพบได้ในทุกคน โดยเฉพาะวัยรุ่นเพศหญิงและวัยสูงอายุเพศชาย ซึ่งผลกระทบจาก อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มีค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาพร่างกาย ความมั่นใจในตนเอง ประสิทธิภาพการมองเห็น และการใช้ชีวิตประจำวัน
Header Tag 2 : กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจาก
Alt : ผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงรีวิว
แล้วแบบนี้ ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจาก อะไรกันแน่? กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มีทั้งรูปแบบ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงข้างเดียว และสองข้าง แต่โดยส่วนใหญ่ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจาก 3 สาเหตุหลักๆ ดังนี้
H3 : 1. กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่เกิด (Congenital Ptosis)
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่เกิด(Congenital Ptosis) มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม คนที่เป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากพันธุกรรม จะเปลือกตาหย่อนตั้งแต่เกิด ไม่มีรอยพับชั้นตา ลืมตาได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้คนนั้นมีประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลงและมักพบปัญหาทางสายตาตั้งแต่เด็ก ได้แก่ ภาวะตาขี้เกียจ ตาเหล่ สายตาเอียง เป็นต้น
H3 : 2. การระคายเคืองบริเวณกล้ามเนื้อตาเป็นระยะเวลานาน
บางกรณี กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอาการ อาจเพิ่งเกิดขึ้นหลังจากที่มีการใช้ชีวิตประจำวัน สาเหตุที่พบบ่อยมาจากการระคายเคืองกล้ามเนื้อตาเป็นระยะเวลานาน เช่น พฤติกรรมขยี้ตาอย่างรุนแรง อาการภูมิแพ้ขึ้นตา เช็ดเครื่องสำอางไม่ถูกวิธี การใช้คอนเทคเลนส์เป็นประจำ การใช้สายตาจดจ่อหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เป็นเวลานาน รวมไปจนถึงอายุที่เพิ่มขึ้น ก็ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้เช่นกันค่ะ
ส่วนปัจจัยอื่นที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ ก็มีกรณีการผ่าตัดตาสองชั้นผิดพลาด เพื่อป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง แนะนำว่าควรเข้ารับบริการกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในการผ่าตัดตาสองชั้นจึงจะดีที่สุดนะคะ
H3 : 3. การสื่อสารประสาทที่หลังผิดปกติ หรือ โรค MG
การสื่อสารประสาทที่หลังผิดปกติ หรือโรค Myasthenia Gravis(MG) คือ สารสื่อประสาทหรือเส้นประสาทที่เชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ ทำให้คนนั้นมีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแบบเป็นๆหายๆ หนังตาหย่อนเป็นบางเวลา เมื่อพักผ่อนอาการก็ดีขึ้น ซึ่งหากมีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากสาเหตุนี้ ไม่ควรเข้ารับการ ผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง แต่ควรเข้ารับการรักษาด้วยการทานยา
เหตุการณ์ที่มักพบบ่อยในกลุ่มนี้ ได้แก่ การเกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนสมองหรือเปลือกตา การผ่าตัดผิดพลาด เป็นต้น
Header Tag 2 : อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
โดยทั่วไป อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มีดังนี้
- ตาตก
ลักษณะดวงตาจะมีอาการหนังตาตก หย่อนลงมาจนรบกวนการมองเห็น บดบังจนลูกตาดำไม่เต็มวง โดยมีโอกาสพบในดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือสองข้างพร้อมกันได้
- ติดนิสัยเลิกคิ้ว
การติดนิสัยเลิกคิ้ว ก็เป็นอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้เช่นกัน เพราะผู้ที่กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มักจะพยายามยกคิ้วข้างที่หนังตาตกแบบไม่รู้ตัว ทำให้เกิดริ้วรอยบริเวณหน้าผาก และมีอาการปวดหัวหรือกล้ามเนื้อขมับเกร็งตามมา
- ขยี้ตาบ่อย
การขยี้ตาบ่อยๆ ทำให้ผิวหนังเกิดการหย่อนลงมา กล้ามเนื้อตายืดออก หรือชั้นตาไม่ได้พับตามรูปเดิม
- ลืมตาไม่ขึ้น
ลืมตาไม่ขึ้น ตาปรือคล้ายง่วงนอน ตาโตไม่เท่ากัน สามารถเกิดได้ข้างเดียวหรือตาทั้งสองข้าง
- ตาขี้เกียจ(Lazy Eyes)
ตาขี้เกียจส่วนใหญ่มักพบในคนที่เป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่เกิด เมื่อเด็กไม่สามารถมองเห็นภาพที่ชัดเจน ร่างกายก็จะเกิดกลไกปรับดวงตาข้างนั้นให้มองเห็นลดลง การทำงานประสานระหว่างดวงตาทั้งสองก็ลดลงไปด้วย จึงควรรีบเข้ารับการรักษาโดยเร็ว
- เบ้าตาลึก
เบ้าตาลึก เกิดขึ้นได้เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่เป็นต้นไป ส่งผลให้บุคคลนั้นโทรม ดูเหนื่อยเพลีย และง่วงนอนตลอด
Header Tag 2 : วิธีสังเกตอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
Alt : โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงการรักษา
อ่านมาถึงตรงนี้ ใครที่กำลังอยากรู้ว่า “จะสังเกตตนเองอย่างไรว่าเป็น กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ?” ทาง Medmetic มีเคล็ดลับดีๆ ในการสังเกต อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ได้แก่…
- ลืมตาแล้วตาโตไม่เท่ากัน
- ชั้นตามีความแตกต่างกัน โดยดวงตาที่มี กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะมีชั้นตาที่ใหญ่กว่าและซ้อนหลายชั้น
- มีพฤติกรรมเลิกหน้าผาก ยกคิ้วบ่อยๆ
- ยากลำบากในการลืมตา
- เบ้าตาลึก ใต้ตาลึก ดูโทรม
- คิ้วสูงไม่เท่ากัน
- ตาปรือคล้ายคนง่วงนอน
- มองเห็นภาพซ้อนกันเป็นบางครั้ง
Header Tag 2 : ความรุนแรงของภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
Alt : กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงค่ารักษา
- เปลือกตาบนปิดคลุมตาดำในระดับทั่วไป
โดยทั่วไป บริเวณขอบตาบนจะมีการปิดคลุมตาดำไม่เกิน 1 มิลลิเมตร หากใครที่ยังไม่เกินระดับที่กำหนด ก็คาดได้ว่า ไม่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
- ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับเล็กน้อย
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับเล็กน้อย ผู้ที่มีภาวะนี้ในเบื้องต้น ขอบตาจะปิดคลุมตาดำ ประมาณ 2-3 มิลลิเมตร สังเกตเห็นได้ไม่ค่อยชัดเจนนัก
- ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับปานกลาง
ผู้ที่กล้ามเนื้ออ่อนแรงในระดับปานกลาง ขอบตาหย่อนลงมาปิดคลุมตาดำประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นดูง่วงนอนหรืออ่อนเพลียตลอดเวลา
- ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับรุนแรง
ระดับรุนแรง คือ ผู้ที่ขอบตาปิดคลุมตาดำเกินกว่า 4 มิลลิเมตร ทำให้รบกวนการมองเห็นในชีวิตประจำวัน ควรรีบเข้ารับการรักษาโดยเร็ว
Header Tag 2 : ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง อันตรายหรือไม่
“ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอันตรายไหม ?” อย่างที่ Medmetic ได้บอกไว้ในข้างต้น ผลกระทบจากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงค่อนข้างมาก คนที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง จะได้รับผลกระทบเรื่องความมั่นใจ บุคลิกภาพ อาการปวดเมื่อย ปวดหัว และอาจเกิดริ้วรอยก่อนวัยบริเวณหน้าผากได้
ส่วนผู้ที่กล้ามเนื้ออ่อนแรงระดับรุนแรง จะค่อนข้างอันตราย เนื่องจากเปลือกตาหย่อนจนรบกวนการมองเห็นในชีวิตประจำวัน
Header Tag 2 : วิธีรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
H3 : 1. บริหารกล้ามเนื้อตา
Alt : ตาอ่อนแรง
การบริหารกล้ามเนื้อตา เป็นหนึ่งในวิธี แก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ง่ายๆ สำหรับคนที่มีระดับความรุนแรงของอาการเล็กน้อย โดยสามารถฝึกกลอกตา เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของดวงตาได้ดังนี้
- กลอกตามองด้านบน-ล่าง และทางซ้าย-ขวา โดยทำซ้ำประมาณ 2-3 รอบต่อวัน
- มองนิ้วชี้ที่วางอยู่ข้างหน้าบริเวณระหว่างดวงตาทั้งสอง จากนั้นค่อยๆ เลื่อนนิ้วเข้าใกล้-ไกลดวงตาช้าๆ โดยทำประมาณ 20 รอบต่อครั้ง และควรทำประมาณ 3 ครั้งต่อวัน
H3 : 2. การรับประทานยา
Alt : กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงรีวิว
การรับประทานยา สามารถช่วย รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ได้ในผู้ที่เป็นโรค Myasthenia Gravis(MG) เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคกลุ่มนี้ ไม่ควรเข้ารับการ ผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ค่ะ
H3 : 3. การผ่าตัดรักษา
Alt : กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงรักษา
วิธีรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ด้วยการผ่าตัด Medmetic แนะนำว่า ควรเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นนะคะ เนื่องจากการผ่าตัดต้องมีการตรึงกล้ามเนื้อตาที่อ่อนแรง ซึ่งแพทย์จะต้องวินิจฉัยและคำนวณให้เหมาะสมกับกล้ามเนื้อตาแต่ละข้าง หากแพทย์ไม่มีความเชี่ยวชาญมากเพียงพอ อาจส่งผลให้ชั้นตาออกมาไม่เท่ากันได้ค่ะ
Header Tag 2 : ทำตาสองชั้นรักษาอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ไหม
Alt : กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงไม่ผ่าตัด
การทำตาสองชั้นเพียงอย่างเดียว ช่วย แก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง แค่ในช่วงแรกเท่านั้น เพราะการผ่าตัดตาสองชั้นทั่วไป ไม่ได้แก้ปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงโดยตรง ทำให้เคสที่ตอนแรกคาดหวังว่าจะทำ ตาสองชั้นหวานๆ ได้รับผลลัพธ์ไม่ตรงตามความต้องการ ส่งผลให้ ทำตาสองชั้นแล้วไม่สวย ตายังคงปรือ ไม่เท่ากัน ชั้นตาไม่เหมาะสม ฯลฯ
Header Tag 2 : ผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง VS ทำตาสองชั้น
แล้วแบบนี้ การผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงกับการทำตาสองชั้นแตกต่างกันยังไง?
การผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นการรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงโดยตรง มีความซับซ้อนอย่างมาก เพื่อทำให้กล้ามเนื้อตาแข็งแรง ลืมตาได้กว้างยิ่งขึ้น และสามารถแก้ไขเรื่องตาปรือได้อย่างตรงจุดเลยหล่ะค่ะ ส่วนการผ่าตัดทำตาสองชั้น จะเน้นเรื่องความสวยงาม สร้างชั้นตาให้เหมาะกับแต่ละบุคคล มักแก้ปัญหาเรื่อง ตาตี่ ตาชั้นเดียว ตาสองชั้นหลบใน หางตาตกมากกว่า
ยังไงก็ตาม การทำตาสองชั้นสามารถทำควบคู่กับการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ โดยการตรึงกล้ามเนื้อตาให้ยกขึ้นตามความเหมาะสมของดวงตาแต่ละข้าง พร้อมกับแต่งชั้นตาให้สวยงามเป็นธรรมชาติ หมดปัญหาตาปรือ ชั้นตาซ้อนหลายชั้น ตาไม่เท่ากันไปเลย
Header Tag 2 : เตรียมตัวก่อนผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
- สระผมก่อนเข้ารับการผ่าตัด
- งดแต่งหน้า ต่อขนตา ใส่คอนเทคเลนส์ก่อนและหลังการผ่าตัด ประมาณ 3 สัปดาห์
- แจ้งประวัติการแพ้ยา โรคประจำตัว ประวัติการศัลยกรรม และข้อมูลสำคัญให้แพทย์ทราบ
- งดการทานอาหารเสริม วิตามิน ยาลดน้ำหนัก หรือยาอื่นๆที่อาจทำให้ลดการแข็งตัวของเลือด
- หากมีอาการไอ ท้องผูก หรือมีความผิดปกติบริเวณตา เช่น ตาแดง ตากุ้งยิง ตาบวม หรือผื่นขึ้นตา ควรแจ้งแพทย์ล่วงหน้า
Header Tag 2 : ผลลัพธ์หลังผ่าตัดรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
[รูป อาจจะเป็นเคสรีวิว (ถ้ามี) + Alt]Alt : แก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงราคา
- บุคลิกภาพดีขึ้น ความมั่นใจกลับมาอีกครั้ง
- จบปัญหาเรื่องตาปรือคล้ายคนง่วงนอน
- มองเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
- ดวงตาสวยแลดูเป็นธรรมชาติ สดใส
- ดวงตาทั้งสองมีชั้นตาที่ชัดเจน ดูขนาดเท่ากัน
- ลดพฤติกรรมยกคิ้ว ซึ่งเป็นสาเหตุริ้วรอยบริเวณหน้าผาก
- ชั้นตาไม่แตก ไม่ซ้อน หรือไม่มีชั้นตาเกิน
Header Tag 2 : ข้อควรระวัง
- ควรเข้ารับการผ่าตัดกับแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อความปลอดภัยและผลลัพธ์ที่ดี
- หลังผ่าตัด หลีกเลี่ยงการโดนน้ำบริเวณดวงตา
- งดการใส่คอนเทคเลนส์ประมาณ 3 สัปดาห์หลังผ่าตัด
- งดการทานอาหารรสจัด หรือของหมักดอง
- ประคบเย็นบริเวณดวงตาในช่วง 3-4 วันแรก ส่วนหลังจากนั้นให้ประคบอุ่น
- หลังผ่าตัด พยายามฝึกลืมตาเพื่อลดอาการบวม
- หากได้รับยาจากแพทย์ ควรทานยาตามปริมาณที่ระบุไว้อย่างสม่ำเสมอ
- มาพบแพทย์เพื่อติดตามผลทุกครั้ง
Header Tag 2 : โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ไม่รักษาได้หรือไม่
Alt : ผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงราคา
“โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ไม่รักษาได้ไหม?” อย่างที่เรารู้กันว่า กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมีระดับความรุนแรงของอาการหลายระดับ หากคุณตัดสินใจที่จะไม่เข้ารับการรักษา ก็มีโอกาสที่กล้ามเนื้อตาจะมีระดับความรุนแรงมากขึ้นจนเริ่มบดบังทัศนวิสัยในการมองเห็น ส่งผลให้ในระยะยาวเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพตาตามมาได้นะคะ
Header Tag 2 : สรุป
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อตาไม่สามารถพยุงหนังตาเอาไว้ได้ ทำให้เปลือกตาหย่อยคล้อยลงมาจนบดบังตาดำบางส่วนไป จึงจำเป็นที่จะต้องรีบเข้ารับการรักษา เพื่อป้องกันระดับความรุนแรงของอาการที่มากยิ่งขึ้นและทำให้ความมั่นใจในตนเองกลับมาอีกครั้ง สุดท้ายนี้ หลายๆ คนคงกำลังมีคำถามในใจว่า ควร รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่ไหนดี ?
ทาง Medmetic แนะนำว่า การเข้ารับบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกา รรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ผ่าตัดถุงใต้ตา การเปิดหัวตา ฯลฯ ควรเลือกสถานพยาบาลที่น่าเชื่อถือ มีรีวิวจากผู้ใช้จริง สะอาดปลอดภัย และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล เพื่อป้องกันความเสี่ยงหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นหลังผ่าตัดค่ะ
Reference
Mayo Clinic Staff, (2021, August 14). Lazy eye (amblyopia). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/lazy-eye/symptoms-causes/syc-20352391
Mayo Clinic, (n.d.). Myasthenia gravis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/myasthenia-gravis/symptoms-causes/syc-20352036
Myasthenia gravis. (2020, January 17). NHS. https://www.nhs.uk/conditions/myasthenia-gravis/