• ไทย
  • English
Medmetic เปิดทุกวัน : 09:00 - 20:00divider Medmetic ศูนย์บริการข้อมูล : 02 114 3000
  • ไทย
  • English
กลับ

รู้จักกับภาวะ “กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง”  พร้อมแนะนำวิธีรักษา

admin //
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

เคยไหมคะกับการโดนคนรอบข้างทักบ่อยๆ ว่า ดูเหมือนง่วงนอนตลอดเวลา จะถ่ายรูปทีก็รู้สึกไม่มั่นใจเพราะดวงตาไม่เท่ากัน ชั้นตาแตก ไม่พับเส้นเรียงสวยเหมือนเมื่อก่อน หรือจะเข้าสังคมก็กังวลว่าคู่สนทนาจะสังเกตเห็นลักษณะตาที่แตกต่างกัน สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้อย่าชะล่าใจ เพราะนี่อาจเป็นอาการหนึ่งของภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้

ฉะนั้น Medmetic จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงกัน ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงคืออะไร อันตรายไหม? วิธีแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมีอะไรบ้าง? ทุกคำถามมีคำตอบให้สำหรับคุณ


โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง คือ

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงภาษาอังกฤษ

โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง คือ การที่กล้ามเนื้อตาไม่แข็งแรง ไม่สามารถพยุงหนังตาไว้ได้ ส่งผลให้เปลือกตาด้านบนหย่อนลงมามากกว่าปกติ ลักษณะดวงตาจึงเห็นเป็นลูกตาดำไม่เต็มวง คล้ายคนตาปรือ ง่วงนอน เหนื่อยเพลีย หรือบางกรณีที่เป็นเพียงแค่ข้างเดียว ก็จะเห็นได้ชัดเจนว่าดวงตาไม่เท่ากัน ทำให้รู้สึกเสียความมั่นใจไปด้วย 

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถพบได้ในทุกคน โดยเฉพาะวัยรุ่นเพศหญิงและวัยสูงอายุเพศชาย ซึ่งผลกระทบจากอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมีค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาพร่างกาย ความมั่นใจในตนเอง ประสิทธิภาพการมองเห็น และการใช้ชีวิตประจำวัน

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจาก

ผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงรีวิว

แล้วแบบนี้ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากอะไรกันแน่? กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมีทั้งรูปแบบกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงข้างเดียวและสองข้าง แต่โดยส่วนใหญ่กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจาก 3 สาเหตุหลักๆ ดังนี้

1. กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่เกิด (Congenital Ptosis)

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่เกิด(Congenital Ptosis) มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม คนที่เป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากพันธุกรรม จะเปลือกตาหย่อนตั้งแต่เกิด ไม่มีรอยพับชั้นตา ลืมตาได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้คนนั้นมีประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลงและมักพบปัญหาทางสายตาตั้งแต่เด็ก ได้แก่ ภาวะตาขี้เกียจ ตาเหล่ สายตาเอียง เป็นต้น

2. การระคายเคืองบริเวณกล้ามเนื้อตาเป็นระยะเวลานาน

บางกรณีกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอาการอาจเพิ่งเกิดขึ้นหลังจากที่มีการใช้ชีวิตประจำวัน สาเหตุที่พบบ่อยมาจากการระคายเคืองกล้ามเนื้อตาเป็นระยะเวลานาน เช่น พฤติกรรมขยี้ตาอย่างรุนแรง อาการภูมิแพ้ขึ้นตา เช็ดเครื่องสำอางไม่ถูกวิธี การใช้คอนเทคเลนส์เป็นประจำ การใช้สายตาจดจ่อหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เป็นเวลานาน รวมไปจนถึงอายุที่เพิ่มขึ้น ก็ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้เช่นกันค่ะ

ส่วนปัจจัยอื่นที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ ก็มีกรณีการผ่าตัดตาสองชั้นผิดพลาด เพื่อป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง แนะนำว่าควรเข้ารับบริการกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในการผ่าตัดตาสองชั้นจึงจะดีที่สุดนะคะ สำหรับใครที่สนใจสามารถอ่านข้อมูล ทำตาสองชั้น เพิ่มเติมได้ที่นี่!

3. การสื่อสารประสาทที่หลังผิดปกติ หรือ โรค MG

การสื่อสารประสาทที่หลังผิดปกติ หรือโรค Myasthenia Gravis(MG) คือ สารสื่อประสาทหรือเส้นประสาทที่เชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ ทำให้คนนั้นมีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแบบเป็นๆหายๆ  หนังตาหย่อนเป็นบางเวลา เมื่อพักผ่อนอาการก็ดีขึ้น ซึ่งหากมีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากสาเหตุนี้ ไม่ควรเข้ารับการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง แต่ควรเข้ารับการรักษาด้วยการทานยา

เหตุการณ์ที่มักพบบ่อยในกลุ่มนี้ ได้แก่ การเกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนสมองหรือเปลือกตา การผ่าตัดผิดพลาด เป็นต้น

อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

โดยทั่วไป อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มีดังนี้

1. ตาตก

ลักษณะดวงตาจะมีอาการหนังตาตก หย่อนลงมาจนรบกวนการมองเห็น บดบังจนลูกตาดำไม่เต็มวง โดยมีโอกาสพบในดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือสองข้างพร้อมกันได้

2. ติดนิสัยเลิกคิ้ว

การติดนิสัยเลิกคิ้ว ก็เป็นอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้เช่นกัน เพราะผู้ที่กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มักจะพยายามยกคิ้วข้างที่หนังตาตกแบบไม่รู้ตัว ทำให้เกิดริ้วรอยบริเวณหน้าผาก และมีอาการปวดหัวหรือกล้ามเนื้อขมับเกร็งตามมา

3. ขยี้ตาบ่อย

การขยี้ตาบ่อยๆ ทำให้ผิวหนังเกิดการหย่อนลงมา กล้ามเนื้อตายืดออก หรือชั้นตาไม่ได้พับตามรูปเดิม 

4. ลืมตาไม่ขึ้น

ลืมตาไม่ขึ้น ตาปรือคล้ายง่วงนอน ตาโตไม่เท่ากัน สามารถเกิดได้ข้างเดียวหรือตาทั้งสองข้าง 

5. ตาขี้เกียจ(Lazy Eyes)

ตาขี้เกียจส่วนใหญ่มักพบในคนที่เป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่เกิด เมื่อเด็กไม่สามารถมองเห็นภาพที่ชัดเจน ร่างกายก็จะเกิดกลไกปรับดวงตาข้างนั้นให้มองเห็นลดลง การทำงานประสานระหว่างดวงตาทั้งสองก็ลดลงไปด้วย จึงควรรีบเข้ารับการรักษาโดยเร็ว

6. เบ้าตาลึก

เบ้าตาลึก เกิดขึ้นได้เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่เป็นต้นไป ส่งผลให้บุคคลนั้นโทรม ดูเหนื่อยเพลีย และง่วงนอนตลอด 

วิธีสังเกตอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงการรักษา

อ่านมาถึงตรงนี้ ใครที่กำลังอยากรู้ว่า “จะสังเกตตนเองอย่างไรว่าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง?” ทาง Medmetic มีเคล็ดลับดีๆ ในการสังเกตอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ได้แก่

ความรุนแรงของภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงค่ารักษา
  • เปลือกตาบนปิดคลุมตาดำในระดับทั่วไป

โดยทั่วไป บริเวณขอบตาบนจะมีการปิดคลุมตาดำไม่เกิน 1 มิลลิเมตร หากใครที่ยังไม่เกินระดับที่กำหนด ก็คาดได้ว่า ไม่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

  • ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับเล็กน้อย

ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับเล็กน้อย ผู้ที่มีภาวะนี้ในเบื้องต้น ขอบตาจะปิดคลุมตาดำ ประมาณ 2-3 มิลลิเมตร สังเกตเห็นได้ไม่ค่อยชัดเจนนัก

  • ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับปานกลาง

ผู้ที่กล้ามเนื้ออ่อนแรงในระดับปานกลาง ขอบตาหย่อนลงมาปิดคลุมตาดำประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นดูง่วงนอนหรืออ่อนเพลียตลอดเวลา

  • ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับรุนแรง

ระดับรุนแรง คือ ผู้ที่ขอบตาปิดคลุมตาดำเกินกว่า 4 มิลลิเมตร ทำให้รบกวนการมองเห็นในชีวิตประจำวัน ควรรีบเข้ารับการรักษาโดยเร็ว

ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง อันตรายหรือไม่

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอันตรายไหม?” อย่างที่ Medmetic ได้บอกไว้ในข้างต้น ผลกระทบจากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงค่อนข้างมาก คนที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง จะได้รับผลกระทบเรื่องความมั่นใจ บุคลิกภาพ อาการปวดเมื่อย ปวดหัว และอาจเกิดริ้วรอยก่อนวัยบริเวณหน้าผากได้

ส่วนผู้ที่กล้ามเนื้ออ่อนแรงระดับรุนแรง จะค่อนข้างอันตราย เนื่องจากเปลือกตาหย่อนจนรบกวนการมองเห็นในชีวิตประจำวัน

วิธีรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

1. บริหารกล้ามเนื้อตา

าอ่อนแรง

การบริหารกล้ามเนื้อตา เป็นหนึ่งในวิธีแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงง่ายๆ สำหรับคนที่มีระดับความรุนแรงของอาการเล็กน้อย โดยสามารถฝึกกลอกตา เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของดวงตาได้ดังนี้

1. กลอกตามองด้านบน-ล่าง และทางซ้าย-ขวา โดยทำซ้ำประมาณ 2-3 รอบต่อวัน

2. มองนิ้วชี้ที่วางอยู่ข้างหน้าบริเวณระหว่างดวงตาทั้งสอง จากนั้นค่อยๆ เลื่อนนิ้วเข้าใกล้-ไกลดวงตาช้าๆ โดยทำประมาณ 20 รอบต่อครั้ง และควรทำประมาณ 3 ครั้งต่อวัน

2. การรับประทานยา

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงรีวิว

การรับประทานยา สามารถช่วยรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ในผู้ที่เป็นโรค Myasthenia Gravis(MG) เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคกลุ่มนี้ ไม่ควรเข้ารับการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงค่ะ

3. การผ่าตัดรักษา

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงรักษา

วิธีรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วยการผ่าตัด Medmetic แนะนำว่า ควรเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นนะคะ เนื่องจากการผ่าตัดต้องมีการตรึงกล้ามเนื้อตาที่อ่อนแรง ซึ่งแพทย์จะต้องวินิจฉัยและคำนวณให้เหมาะสมกับกล้ามเนื้อตาแต่ละข้าง หากแพทย์ไม่มีความเชี่ยวชาญมากเพียงพอ อาจส่งผลให้ชั้นตาออกมาไม่เท่ากันได้ค่ะ 

ทำตาสองชั้นรักษาอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ไหม

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงไม่ผ่าตัด

การทำตาสองชั้นเพียงอย่างเดียว ช่วยแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแค่ในช่วงแรกเท่านั้น เพราะการผ่าตัดตาสองชั้นทั่วไป ไม่ได้แก้ปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงโดยตรง ทำให้เคสที่ตอนแรกคาดหวังว่าจะทำตาสองชั้นหวานๆได้รับผลลัพธ์ไม่ตรงตามความต้องการ ส่งผลให้ทำตาสองชั้นแล้วไม่สวย ตายังคงปรือ ไม่เท่ากัน ชั้นตาไม่เหมาะสม ฯลฯ

ผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง VS ทำตาสองชั้น

แล้วแบบนี้ การผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงกับการทำตาสองชั้นแตกต่างกันยังไง?

การผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นการรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงโดยตรง มีความซับซ้อนอย่างมาก เพื่อทำให้กล้ามเนื้อตาแข็งแรง ลืมตาได้กว้างยิ่งขึ้น และสามารถแก้ไขเรื่องตาปรือได้อย่างตรงจุดเลยหล่ะค่ะ ส่วนการผ่าตัดทำตาสองชั้น จะเน้นเรื่องความสวยงาม สร้างชั้นตาให้เหมาะกับแต่ละบุคคล มักแก้ปัญหาเรื่องตาตี่ ตาชั้นเดียว ตาสองชั้นหลบใน หางตาตกมากกว่า

ยังไงก็ตาม การทำตาสองชั้นสามารถทำควบคู่กับการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ โดยการตรึงกล้ามเนื้อตาให้ยกขึ้นตามความเหมาะสมของดวงตาแต่ละข้าง พร้อมกับแต่งชั้นตาให้สวยงามเป็นธรรมชาติ หมดปัญหาตาปรือ ชั้นตาซ้อนหลายชั้น ตาไม่เท่ากันไปเลย

เตรียมตัวก่อนผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

ผลลัพธ์หลังผ่าตัดรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

ข้อควรระวัง

โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ไม่รักษาได้หรือไม่

ผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงราคา

“โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ไม่รักษาได้ไหม?” อย่างที่เรารู้กันว่า กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมีระดับความรุนแรงของอาการหลายระดับ หากคุณตัดสินใจที่จะไม่เข้ารับการรักษา ก็มีโอกาสที่กล้ามเนื้อตาจะมีระดับความรุนแรงมากขึ้นจนเริ่มบดบังทัศนวิสัยในการมองเห็น ส่งผลให้ในระยะยาวเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพตาตามมาได้นะคะ

สรุป

ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อตาไม่สามารถพยุงหนังตาเอาไว้ได้ ทำให้เปลือกตาหย่อยคล้อยลงมาจนบดบังตาดำบางส่วนไป จึงจำเป็นที่จะต้องรีบเข้ารับการรักษา เพื่อป้องกันระดับความรุนแรงของอาการที่มากยิ่งขึ้นและทำให้ความมั่นใจในตนเองกลับมาอีกครั้ง สุดท้ายนี้ หลายๆ คนคงกำลังมีคำถามในใจว่า ควรรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่ไหนดี

ทาง  Medmetic แนะนำว่า การเข้ารับบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ผ่าตัดถุงใต้ตา การเปิดหัวตา ฯลฯ ควรเลือกสถานพยาบาลที่น่าเชื่อถือ มีรีวิวจากผู้ใช้จริง สะอาดปลอดภัย และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล เพื่อป้องกันความเสี่ยงหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นหลังผ่าตัดค่ะ

อ้างอิง

Mayo Clinic Staff, (2021, August 14). Lazy eye (amblyopia). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/lazy-eye/symptoms-causes/syc-20352391

 

Mayo Clinic, (n.d.). Myasthenia gravis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/myasthenia-gravis/symptoms-causes/syc-20352036


Myasthenia gravis. (2020, January 17). NHS. https://www.nhs.uk/conditions/myasthenia-gravis/

ข้อความนี้ถูกเขียนใน บทความ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร